ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

แนวทางการพัฒนา : การคมนาคมและการขนส่ง

แนวทางการพัฒนา : สาธารณูปโภค

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต

แนวทางการพัฒนา : การส่งเสริมอาชีพ

แนวทางการพัฒนา : งานสวัสดิการสังคม

แนวทางการพัฒนา : นันทนาการ

แนวทางการพัฒนา : การศึกษาทั้งในและนอกระบบ

แนวทางการพัฒนา : งานสาธารณสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 3   การจัดระเบียบชุมชน/สังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย

แนวทางการพัฒนา : การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน    

                           และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 

แนวทางการพัฒนา : การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย

                            ในชีวิตและทรัพย์สิน

แนวทางการพัฒนา : การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมและสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์

แนวทางการพัฒนา :  การพัฒนาการเมืองและการบริหารจัดการที่ดี

ยุทธศาสตร์ที่ 4  การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา :  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสถานที่สาธารณะ

ยุทธศาสตร์ที่ 5  การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

         แนวทางการพัฒนา :  การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรมจารีต

                                      ประเพณี

ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

การพัฒนาท้องถิ่นจะมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงระดับท้องถิ่นได้แก่ การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด /อำเภอ ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะเป็นแนวทางการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕ ๒๕๕๙)

วิสัยทัศน์ของประเทศ

          “ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทยอยู่ดีกินดี มีความเสมอภาคและเป็นธรรม”

 หลักการของยุทธศาสตร์ : “ต่อยอดรายได้จากฐานเดิม สร้างรายได้จากโอกาสใหม่ เพื่อความสมดุล

และการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

วัตถุประสงค์ :   1. รักษาฐานรายได้เดิมและสร้างรายได้ใหม่

                     2. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต (ต้องผลิตสินค้าได้เร็วกว่าปัจจุบัน)

                     3. ลดต้นทุนให้กับธุรกิจ (ด้วยการลดต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์)

เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ :  1.  การเพิ่มรายได้จากฐานเดิม

                                      2. การสร้างรายได้จากโอกาสใหม่

                                      3. การลดรายจ่าย

                                      4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง (Growth&Competitiveness)

ยุทธศาสตร์ที่ 2  การลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Growth)

ยุทธศาสตร์ที่ การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Growth)

ยุทธศาสตร์ที่ การสร้างความสมดุลและปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ (Internal Process)

แผนการบริหารราชการแผ่นดิน

นโยบายรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ที่แถลงต่อสภาฯ เมื่อวันที่  ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ทั้ง ๘ ด้าน  มีดังนี้

 

๑)      นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มีจำนวน ๑๖ เรื่อง คือ

๑.๑  สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ

๑.๒  กำหนดให้แก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ

๑.๓  ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

๑.๔  ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ

๑.๕  เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้

๑.๖  เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

๑.๗  แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

๑.๘  ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๑.๙  ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าการเกษตรและเข้าถึงแหล่งเงินทุน

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว

๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน

๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊ปเล็ตให้แก่นักเรียน

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง

          ๒)  นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

          ๓)  นโยบายเศรษฐกิจ

          ๔)  นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

          ๕)  นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ๖)  นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและนวัตกรรม

          ๗)  นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

          ๘)  นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แผนพัฒนาจังหวัดลพบุรี (ปี ๒๕๕๘ ๒๕๖๑)

วิสัยทัศน์จังหวัดลพบุรี

          “ฐานการผลิตอาหารปลอดภัย ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ มุ่งสู่เมืองน่าอยู่”

ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ การสร้างมูลค่าเพิ่มการผลิตอาหารปลอดภัย

ยุทธศาสตร์ที่ 2  สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี

วิสัยทัศน์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี

          “คุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล”

ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ที่ 2  บริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 3  เพิ่มขีดความสามารถทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ยุทธศาสตร์ที่ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ

นโยบายการพัฒนาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด

 

          เป็นนโยบายการพัฒนาที่สำคัญ และเร่งด่วนของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีดังนี้

            ๑)  นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

            ๒)  นโยบายด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

            ๓)  นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

            ๔)  นโยบายการพัฒนาด้านสังคม

            ๕)  นโยบายการพัฒนาด้านสาธารณสุข

            6)  นโยบายการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ

            7)  นโยบายการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการเมือง การบริหารและการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น

            8)  นโยบายการพัฒนาด้านการจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     ซึ่งในการพัฒนาตำบลท้ายตลาด จะต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เป็นแผนที่มีระยะเวลาครอบคลุม 5 ปี  ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดทำใหม่เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2558-2562) ซึ่งการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ประจำปี 2557 ซึ่งเป็นรอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558 – 2560) โดยจะนำยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตั้งแต่ระดับชาติลงมาตามลำดับ มาจัดทำโครงการต่างๆ ซึ่งผ่านกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในตำบลทั้ง 7 หมู่บ้าน เพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ตรงตามความต้องการและบรรเทาความเดือดร้อนให้ได้มากที่สุด

    การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด ครอบคลุมการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ แยกเป็นแต่ละด้าน เพื่อชี้ให้เห็นศักยภาพ ปัญหาและความต้องการ ได้ดังนี้

1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนา/และหรือ จปฐ.

อบต.ท้ายตลาด ได้มีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เช่น การจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ได้แก่การประกอบอาชีพของประชาชนในตำบล รายได้ประชากร ด้านสังคม ได้แก่ ข้อมูลด้านการศึกษา จำนวนโรงเรียนในเขตพื้นที่ จำนวนเด็กนักเรียน ด้านสาธารณสุข ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายตลาด ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด โดยมีการเปรียบเทียบระยะเวลา 2 ปีย้อนหลัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีความจำเป็นในด้านข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาที่ตรงจุด

2)  การวิเคราะห์ข้อมูลสังคม

ในรอบปีงบประมาณ ของแต่ละปี โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองลพบุรี จะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตในครัวเรือน ประกอบด้วยข้อมูลด้านสุขภาพ อนามัย ที่พักอาศัย การศึกษา รายได้ในครัวเรือน การปลูกฝังค่านิยม สภาพแวดล้อมฯลฯ ซึ่งเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการชี้แนวทางการพัฒนาว่าจะควรจะดำเนินโครงการในด้านใด ที่จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ บรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

 

3) การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สภาพพื้นที่ตำบลท้ายตลาด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำสวน เป็นหลัก และเนื่องด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นพื้นที่นา ส่งผลให้ตำบลท้ายตลาด จึงมีปริมาณป่าไม้ไม่มาก นอกจากนั้นจะเป็นพื้นที่สวน จำนวนคลองส่งน้ำ ห้วย หนอง บึง จะมีมาก เนื่องจากพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ทำนาจำเป็นต้องอาศัยน้ำจากลำน้ำ ระบบชลประทานในเขตพื้นที่ มีปริมาณที่พอเหมาะทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้เพียงพอต่อการเกษตร ยกเว้นช่วงหน้าแล้ง อาจมีการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่

 

สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนเชิงพื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด ได้นำข้อมูลจากแผนชุมชน ที่ทางหมู่บ้านได้จัดทำขึ้น โดยข้อเสนอแนะของประชาชนในแต่ละหมู่ มาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2558-2562) และแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560) โดยได้จัดทำโครงการจัดเวทีประชาคมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2557 ซึ่งได้ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 2031 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560)     สรุปได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ อบต.แก้ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม การก่อสร้าง ซ่อมแซมถนนในพื้นที่ ทั้งเส้นทางการสัญจรและการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร การขุดลอกคลองที่ตื้นเขินเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรและกักเก็บไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง การจัดทำระบบประปาหมู่บ้านให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

 

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN: Association of South East Asia Nations) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ต่อมาบรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาเป็นสมาชิกตามลำดับ ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

สัญลักษณ์อาเซียน : สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 คือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่กระชับมากขึ้นเพื่อการเป็น AEC (ASEAN Economic Community) ทำให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในด้านหนึ่งคือการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเดียวกัน แต่ขณะเดียวกัน สมาชิกอาเซียนก็จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อดึงดูดการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ดังนั้นการบรรเทาความขัดแย้งใน 2 ส่วนนี้ จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยต้องแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศในอาเซียน การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

จากการสำรวจของ International Management Development (IMD) ในปี 2547 พบว่าอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่อันดับที่ 29 จากทั้งหมด 60 ประเทศ อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยยังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย โดย IMD เห็นว่าไทยควรพัฒนาด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ เช่น กฎหมายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา และอัตราส่วนครูต่อนักเรียน

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กำจัดเห็นว่า การที่ไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในหลายๆ ด้าน เช่น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชียและศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ จะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งมีแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นกัน เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ดังนั้น ภายใต้กระแสการเปิดเสรีของโลกที่เข้มข้นและสภาพทางธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงในปัจจุบันนี้ ไทยควรพัฒนาขีดความสามารถทั้งด้านการค้า บริการและการลงทุน โดยส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาทักษะและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรม สำหรับด้านการตลาด ควรพัฒนาให้แบรนด์ของไทยเป็นแบรนด์ของภูมิภาคและของโลก ส่วนภาคเกษตรกรรม ควรพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ พัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่า นอกจากไทยต้องแข่งขันกับประเทศอาเซียนแล้ว ยังต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เอเชีย และจะต้องเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันจากการเปิดเสรี FTA ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการจัดทำ FTA สองฝ่ายกับประเทศต่างๆ 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ อินเดีย บาร์เรน เปรู และกลุ่มเศรษฐกิจ BIMST-EC (บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย ภูฎาน และเนปาล)

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558

ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียน ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และประเทศไทย เห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค จะช่วยให้ (1) ป้องกันการเกิดความขัดแย้ง (2) ส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยวิธีสันติ และ (3) ส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศบรูไน ประเทศเวียดนาม    ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา

เป้าหมายการจัดตั้งอาเซียนมี 7 ประการ

1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม

2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค

3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชากร วิทยาศาสตร์และการบริการ

4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย

5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การ

    สื่อสารและการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต

6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ทำไมจึงจำเป็นต้องสร้างเป็นประชาคมอาเซียน ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาค เพื่อ

1. เพิ่มอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิก

2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสาหลัก ได้แก่

 

          1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-APSC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

          2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญ    มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

          (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริหาร การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

          (2) ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

          (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

          (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมายการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกันคือ สินค้าเกษตร สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริการด้านสุขภาพ ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ.2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

          3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดีและมีความมั่นคงทางสังคม

ASEAN มีข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่ด้วยกัน ได้แก่

1. เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน

2. สังคมและวัฒนธรรม

3. ความมั่นคงทางด้านการเมือง

และที่สำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน ดังนั้นท้องถิ่นต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจให้มาก แต่ไม่ควรละเลยเรื่องภูมิปัญญาหรือวัฒนธรรม

 

เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงร่วมกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร แต่ขณะเดียวกัน ถ้าประเทศอื่นๆในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เข้าก็เข้ามาแข่งขันกับประเทศเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป นอกจากนั้น ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น ยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย ต้องมีการวิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อมและที่สำคัญที่สุด จะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการคุกคามได้อย่างไร

ในอดีต จุดอ่อนคือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ทำให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะและภาษีดีกว่ารายได้เพิ่มขึ้นแต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวลงไป

       ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร

                   1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคน โดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจในการต่อรองในระดับโลก

                   2. Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ

                   3. มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น

                   4. สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบที่จะได้รับ

                   1. การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไป เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานการณ์ได้

                   2. ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลาง ASEAN บุคลากรและนักศึกษาต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้

                   3. ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน  จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

                   4. สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงานไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

                   การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRAs) เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลักแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ.2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ

                    1. วิศวกรรม (Engineering Services)

                   2. พยาบาล (Nursing Services)

                   3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)

           4. การสำรวจ (Surveying Qualification)

                   5. แพทย์ (Medical Practitioners)

                   6. ทันตแพทย์ (Dental Pactitioners)

                   7. บัญชี (Accountancy Service)

 

ASEAN กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในปี พ.ศ. 2558 จะเป็นปีแห่งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน และเป็นองค์กรเริ่มต้นที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องที่ ไปสู่การพัฒนาในระดับที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นที่ อปท.ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม

อาเซียนที่จะมาถึงในไม่ช้า โดยต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ตามยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาให้เหมาะกับศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น เช่น

1. มุ่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้เป็นระบบและสะดวกต่อการขนส่ง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการขยายฐานการผลิต อาทิ ไฟฟ้าและประปา

2. อปท.ต้องมีบทบาทในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มผู้ผลิตในพื้นที่โดยอาจจะต้องมีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพทั้งลักและอาชีพเสริม เปิดรับวิสัยทัศน์ในกระบวนการผลิตแบบใหม่ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล

3. อปท.เร่งปรับระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องดูแลทรัพยากรและจัดการอย่างเป็นระบบ โดยการเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

4. อปท.เตรียมรับผลกระทบจากปัญหาสังคมและสาธารณสุข ที่อาจเกิดจากการเคลื่อน   ย้ายแรงงานและนักท่องเที่ยวโดยเสรี อาทิ โรคระบาด ความขัดแย้งทางสังคมและเชื้อชาติและอาชญากรรมข้ามชาติ

5. อปท.ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน

6. อปท.พัฒนาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการพัฒนา จัดการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

 

ASEAN กับการปรับตัวของท้องถิ่น

                   โอกาสที่เกิดขึ้นโอกาสแรก คือเรื่องของการขาย การตลาด เฉพาะอาเซียนอย่างเดียวก็เพิ่มประชากรผู้บริโภค เพิ่มจาก 64 ล้านคน ถ้าเป็นอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคหลายพันล้านคน ทัศนคติ ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่จะต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่นๆ อีก รวม 10 ประเทศ ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอ หรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป แต่จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียวกัน (One Community) คือชุมชนอาเซียน

                    รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือรากเหง้า หรือความเป็นตัวตนของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีการบริหารจัดการที่ดี ต้องพัฒนาคนไทยให้สื่อสาร ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้น ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศทั้งอังกฤษและภาษาอื่นๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศ ให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยแท้จริง

 

                   ความใฝ่รู้ คือ สร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามคำสั่งอย่างเดียว ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ก็ต้องมีความใฝ่รู้ และต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจการที่เกี่ยวกับ “อาเซียน” เป็นพิเศษ

ASEAN กับองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด

องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย มีถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาได้สะดวก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทองและสระบุรี

สามารถติดต่อหรือใช้เดินทางสัญจรไปยังจังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดเชื่อมต่อได้หลายจังหวัด เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้เมืองหลวงของประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร โดยมีระยะทางห่างจากเมืองหลวงประมาณหนึ่งร้อยห้าสิบห้ากิโลเมตร เส้นทางการขนส่งสินค้า สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางขึ้นไปทางภาคเหนือของประเทศไทย ภาคตะวันตก หรือภาคกลางด้วยกัน โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร ซึ่งในเขตพื้นที่ตำบลท้ายตลาด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ทำให้โอกาสที่องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด จะเป็นเส้นทางสำหรับการคมนาคม ขนส่งสินค้ามีความเป็นไปได้สูง นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายจำนำข้าว และการทำข้อตกลงทางการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสทางการเกษตร การปลูกข้าวของเกษตรกรมีมากขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายตลาด จะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้ เพื่อรองรับการขยายตัวของความเจริญ โดยมีเป้าหมายการดำเนินการ ดังนี้

1. ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคม การพัฒนาเส้นทางการคมนาคม โดยเฉพาะเพื่อรองรับเส้นทางการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรที่จะมีขึ้นในอนาคต

2. ส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุนของประชาชนในตำบล ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาปรับปรุง และพัฒนาอาชีพให้ต่อยอดขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น

3. ส่งเสริมด้านการศึกษา โดยการสนับสนุนให้สถาบันทางการศึกษาเร่งรัดพัฒนาเยาวชนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างช่องทางการสื่อสารที่เป็นภาษาสากลและมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

4. ส่งเสริมด้านการสาธารณสุข การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ โรคระบาดและสุขอนามัยในพื้นที่ โดยส่งเสริมด้านสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.

5. ส่งเสริมการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมการศึกษาและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น  การออกข้อบัญญัติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลรักษาทรัพยากรต้นน้ำและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

6. ส่งเสริมด้านอัตลักษณ์ความเป็นไทยของท้องถิ่น เช่น อัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่ ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน คนรุ่นหลัง เช่น ภาษา การแต่งกาย การละเล่นพื้นบ้าน อาหาร ขนมไทย ประเพณี วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

 

คอมเมนต์